2 ก.ย. 2563

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #4 Konica Hexanon AR 50mm 1.4 เลนส์ดีๆที่โลกลืม

 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์มือหมุนสัญชาติญี่ปุ่นตัวนึงซึ่งเป็นเลนส์ที่ดีมากอีกตัวนึง แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันสักเท่าไหร่ นั่นก็คือ Konica Hexanon AR 50mm 1.4 นั่นเอง เป็นแบรนที่มีประวัติยาวนานพอสมควร เคยทำเลนส์ให้ Leica ด้วย [ว่ากันว่าเลนส์ที่ทำให้ Leica มีคุณภาพเบียด Minolta Mount Leica แบบนิ่มๆกันเลยทีเดียว]


ออกตัวก่อนว่าผมเองไม่ใช่คนที่รู้เรื่องประวัติของเลนส์แต่ละตัวที่นำมารีวิวดีมากเท่าไหร่นัก ข้อมูลส่วนนึงได้จากการค้นหา และรวบรวมมา ผมเพียงพยายามรู้จักเลนส์ที่ผ่านมือมาให้ดีที่สุด หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

Konica คืออีกหนึ่งในหลายๆ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ที่น่าประหลาดใจก็คือ จุดเริ่มต้นของตำนานนี้เป็นบริษัทขายยาเล็กๆ ที่ชื่อว่า Konishi-ya Rokubei Ten ซึ่งมีเจ้าของคือ ซูกิอูระ โรกุเอมอน ที่ 5 ในเวลาต่อมาที่ลูกชายของเขาคือ ซูกิอูระ โรกุซาบุโร่ ได้เติบโตขึ้นและเข้ามาร่วมบริหารงาน ก็ได้ทำการขยายกิจการไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพโดยเริ่ม ต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1873 เป็นต้นมา


  ชื่อ “Konica” ในยุคเริ่มต้นนั้น ก็มีที่มาจากอักษรตัวแรกแล้วเติม CA ซึ่งหมายถึง CAmera ลงไปต่อท้าย เช่นเดียวกับที่กล้องยี่ห้ออื่นๆ (Leica, Yachica ฯลฯ) ทำกันจนเป็นธรรมเนียมนั่นเอง


ในปี ค.ศ. 1879 บริษัทได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Honten Konishi Rokuemon และเริ่มต้นพัฒนากล้องถ่ายภาพของตัวเองขึ้นโดยช่างฝีมือที่ชื่อว่า ฮาเซกาว่า โทชิโนสุเกะ และ โทโจ คาเมจิโร่ ซึ่งกล้องตัวแรกที่ประสบความสำเร็จในการผลิตก็คือกล้อง Cherry ในปี ค.ศ. 1903 ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพสัญชาติญี่ปุ่นตัวแรกที่มีชื่อยี่ห้อเป็นของตัวเอง


ต่อมาในปี ค.ศ. 1921 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น G.K. Konishiroku Honten ซึ่งพยางค์ roku (โรกุ) นั้นได้อ้างอิงถึงชื่อ ซูกิอูระ โรกุเอม่อน ที่ 6 (หมายถึงลูกชายเจ้าของบริษัทยาที่ชื่อ ซูกิอูระ โรกุซาบุโร่ ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 6 ในตระกูล) ซึ่งคำว่าโรกุ (?) นั้นจะแปลว่า “6? ด้วยเช่นกัน ซึ่งโลโก้ของบริษัทก็ได้ออกแบบโดยใช้ตัวอักษรโรกุนี้อยู่ภายในดอกเชอรี่ ซึ่งเกิดจากการเล่นคำนั่นเอง


บริษัทฯ ได้ทำการก่อตั้งวิทยาลัยเพื่อทำการเรียนการสอนเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพใน ชื่อ Konishi college ขึ้นที่เมืองโตเกียวในปี ค.ศ. 1923 และผลิตกล้อง Pearlette ในปี ค.ศ. 1925 ซึ่งกล้องรุ่นนี้เป็นกล้องที่ดำเนินการผลิตออกจำหน่ายแบบเป็นจำนวนมากตัวแรก ของญี่ปุ่นด้วย


หลังจากนั้นอีกหกปี บริษัทก็ได้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่ง นั่นก็คือม้วนฟิล์มถ่ายภาพที่ใช้ชื่อว่า “Sakura” ในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเป็นฟิล์มถ่ายภาพชนิดม้วนยี่ห้อที่สองที่มีการผลิตขึ้นจำหน่ายในประเทศ ญี่ปุ่น และในปีถัดมานั้นเอง ก็ได้ปล่อยเลนส์ถ่ายภาพเชิงพาณิชย์ของญี่ปุ่นออกมาเป็นตัวแรกโดยใช้ชื่อว่า Hexar ซึ่งก็มีความหมายว่า “6? เช่นกัน


บริษัททำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี ค.ศ. 1936 มาเป็น K.K. Konishiroku ก่อนที่จะยุติการขายในปี ค.ศ. 1943 แล้วปรุบปรุงองค์กรมาเป็น Konishiroku Shashin Kogyo K.K. และเปลี่ยนเป็น Konishiroku Photo Industry Co., Ltd. อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง


Konica ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพมากมาย ซึ่งรวมไปถึงเลนส์และอุปกรณ์เสริมหลากหลายชนิดด้วย กล้องถ่ายภาพและเลนส์กว่าสองร้อยรุ่นถูกนำออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีตั้งแต่กล้อง Rangefinder, Folding Camera,  ฯลฯ แน่นอนว่าต้องมี SLR ด้วยเช่นกัน โดยเริ่มจาก SLR ที่ใช้ชื่อรุ่นว่า Konica F Konica Bayonet Mount I) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1960


ในส่วนของกล้องดิจิตอลนั้น Konica เริ่มตั้งแต่ปี 2002  แต่เพียงอีกปีเดียวต่อมาก็ควบรวมกิจการเข้ากับ Minolta


โคนิกามินอลต้าประกาศถอนตัวจากตลาดกล้องถ่ายภาพและฟิลม์สีทั้งหมด จบบทบาทการเป็นแบรนด์ดังที่ตากล้องทั่วโลกรู้จักดี โคนิกามินอลต้าโฮลดิ้งส์ (Konica Minolta Holdings Inc.) ประกาศหยุดการผลิตกล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็คทั้งหมด และจะขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กล้องดิจิตอลแบบ SLR หรือ single lens reflex ประสิทธิภาพสูงบางส่วนให้กับบริษัทโซนี่ (Sony Corp.) โดยไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดตัวเงินการซื้อขาย


นอกจากกล้องดิจิตอลแบบคอมแพ็ค โคนิกามินอลต้ายังประกาศหยุดการผลิตฟิลม์และกระดาษอัดภาพสีแบรนด์โคนิกามินอลต้าภายในเดือนมีนาคม ปี 2007 โดยการยุติการผลิตฟิลม์และกระดาษอัดภาพ โคนิกาฯให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการเติบโตของตลาดกล้องดิจิตอล ที่ทำให้การใช้ฟิลม์และกระดาษอัดภาพกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ส่วนการถอนตัวจากตลาดกล้องดิจิตอล โคนิกาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะทนการแข่งขันในตลาดไม่ไหว


ด้านผู้ผลิตกล้องดิจิตอลรายใหญ่อันดับสามและสี่ของโลกอย่างโกดัก (Eastman Kodak) และฟูจิ (Fuji Photo Film Co.) ต่างเคยออกมาประกาศลดการลงทุนในผลิตภัณฑ์กล้องและฟิลม์ถ่ายภาพที่มีผลประกอบการติดลบอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เคยมีใครออกมาประกาศว่าจะยุติการผลิตเช่นนี้มาก่อน


ก่อนหน้านี้ โคนิกามินอลต้าเคยออกมาประกาศคาดการณ์ตัวเลขขาดทุนสุทธิประจำไตรมาส 1 ของปี 2006 (มกราคมถึงมีนาคม 2006) ไว้ที่ 47,000 ล้านเยน ราว 16,061.8 ล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวโคนิกามินอลต้าประกาศไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยระบุว่าได้ใช้เงินมูลค่า 90,000 ล้านเยน หรือประมาณ 30,756.8 ล้านบาทไปกับกระบวนการจัดการผลิตภัณฑ์ การจัดการสินทรัพย์ และการตัดแรงงานคนในธุรกิจกล้องและฟิลม์ถ่ายภาพ กระทั่งตัดสินใจถอดปลั๊ก ถอนตัวจากธุรกิจดังกล่าวในที่สุด ท่ามกลางความตกตะลึงของนักวิเคราะห์และบริษัทคู่แข่งในตลาด


โคนิกามินอลต้าก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2003 โดยการร่วมทุนระหว่างโคนิกา (Konica Corp.) และมินอลต้า (Minolta Co.) ทั้งสองมีประวัติศาสตร์ในตลาดกล้องดิจิตอลและฟิลม์ถ่ายภาพมาช้านาน โดยเริ่มจำหน่ายกระดาษอัดภาพในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1903 ก่อนจะส่งม้วนฟิลม์สีลงตลาดญี่ปุ่นในปี 1940


หลังจากการประกาศช็อคโลกของโคนิกามินอลต้า คู่แข่งในตลาดอย่างฟูจิให้คำมั่นว่า จะยังคงผลิตฟิลม์ถ่ายภาพสีต่อไป ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโซนี่และโคนิกานั้น ก่อนหน้านี้ทั้งสองเคยร่วมมือกันพัฒนากล้องดิจิตอล SLR เมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว โดยโคนิกาเปิดเผยว่าจะผลิตตัวบอดี้และเลนส์สำหรับกล้องดิจิตอล SLR เพื่อส่งให้โซนี่ต่อไป แต่จะไม่มีการใช้ชื่อแบรนด์โคนิกามินอลต้าอีกต่อไป


ถือเป็นการจบชื่อโคนิกาที่สร้างสมมาตั้งแต่ปี 1903


อ่านประวัติกันมาพอสมควรแล้ว เรามาเข้าเรื่องกันครับมาดูหน้าตาของเลนส์ตัวนี้กันครับ

มีบอกระยะ Filter หรือฝาปิดหน้าเลนส์มาด้วยครับ 55mm

บอดี้ ระยะเข้าใกล้แบบ ใกล้สุดอยู่ที่ 0.45 ฟุต Ft หรือ 1.5 เมตร M

ด้านท้ายเลนส์เป็น Mount แบบ AR เป็น Mount เฉพาะของ Konica

รูรับแสงกว้างสุดที่ 1.4 หรี่มาจะเป็นหกเหลี่ยมมนๆ

หรี่แคบสุดที่ 16

หรี่แคบสุดที่ 16รูปแบบ Optic เลนส์ ส่วนตัวไม่มีความรู้ด้านนี้ เราไม่พูดถึงครับ 555 แปะมาให้ดูเฉยๆ

Konica Hexanon AR 50mm 1.4 จะมีออกมาทั้งหมด3รุ่น

1.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F16 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า EE  [ตัวนี้]

2.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F16 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า AE *เฉพาะเวอร์ชั่น 2 นี้จะมีการเคลือบสารกัมมตรังสีที่ชิ้นเลนส์เพื่อลดอาการขอบเขียวขอบม่วง*

3.รูรับแสงแคบสุดอยู่ที่ F22 และมีตัวหนังสือสีเขียนอยู่ที่กระบอกเลนส์ว่า AE

Version2

Version3

หน้าตาของเลนส์มองผ่านๆจะมีความคล้ายๆกับเลนส์ Contax Carl Zeiss

ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้ครับ

*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3

ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame

อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน

แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*

โบเก้ ที่ 1.4

หรี่มาที่ 2.8

หรี่มาที่ 4

มาลองดูภาพบุคคลกันบ้าง

ถ่ายขาวดำได้สวยงามพอสมควร

F แรกจะฟุ้งนิดหน่อย แต่พอหรี่มาก็จะเริ่มคมในทันที


ภาพนี้ใช้ 1.4

ภาพนี้ใช้ 2.8

ภาพต่อไปในใช้ F4 ทั้งหมด

ขุดรายละเอียดเอาเรื่องเลยทีเดียว Crop100%

คลิบบ่นๆ


ข้อดี
- รูรับแสงกว้างสุดฟุ้ง แต่ไม่มากเท่า Minolta ที่ F2 ก็เริ่มคมแล้ว แต่เอาคมชนิดขุดหน้าดิน F4 ได้เห็นแน่นอนครับ [ที่F4 ตัวนี้คมกว่าเลนส์ Mamiya 55mm 1.4 ซะอีก]
- สีสันสดแต่ไม่หวาน ออกกลางๆ ใสๆเคลียร์ๆ
- คอนทราสไม่จัด ถ่ายภาพบุคคลได้ดีให้ Skintone ดี
- เป็นเลนส์ที่ญี่ปุ่นที่ไม่ฟุ้งฟริ้ง ออกแนวใสๆเคลียร์ๆมากกว่า
- โบเก้เนียนๆสวยงาม ไม่คมขึ้นขอบ

ข้อเสีย
- ฝาหลังตรงรุ่นหาของแท้ของเทียบยากมาก และแพงแบบไม่มีเหตุไม่มีผล

สรุป เลนส์ Konica Hexanon AR 50mm 1.4 ตัวนี้เป็นเลนส์ที่ดีอีกตัวนึง มีความคม ให้สีสันใช้งานได้ดี ทั้งภาพสีและขาวดำ เป็นเลนส์ดีๆที่คนไม่ค่อยพูดถึงกัน ผมเคยอ่านเจอในเว็บตางประเทศมีคนพูดถึงว่า เจ้าตัวนี้คมกว่า Konica Hexanon AR 57mm 1.4 ค่ายเดียวกันมากพอสมควร

หากคุณสนใจเลนส์ตัวนี้ลองเอาข้อมูลส่วนนี้ไป พิจารณาประกอบการตัดสินใจดูนะครับ ลากันไปเท่านี้ครับ สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น