15 มี.ค. 2564

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #11 Carl Zeiss Biotar 25mm F2 เลนส์ดีที่หายาก [เลนส์โม]

    


         สวัสดีครับ เลนส์เก่า เล่าใหม่ #11 ครั้งนี้ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับเลนส์สัญชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นเลนส์ของกล้องถ่ายภาพยนต์ในยุคฟิลม์ 8mm นั่นก็คือเลนส์ Carl Zeiss Biotar 25mm F2 ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนเรื่องของประวัติแบรน Carl Zeiss และ Veb Pentaconไปแล้ว จึงขอเล่าเฉพาะประวัติกล้องและเลนส์ตัวนี้แบบคร่าวๆพอเป็นมีที่มาที่ไป จุดประสงค์ในการเขียนกระทู้นี้ยังคงเป็นเช่นเดิม เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนรุ่นต่อไปหรือคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้จะได้ไม่เสียเวลาเหมือนผม ว่าแล้วเราก็มาเริ่มกันเลยครับ





*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*

เลนส์ที่ผมจะนำมาเล่านี้ มากับกล้อง Zeiss Ikon VEB : Pentaka 8B Cincamera ผลิตออกมาในช่วงปี 1958 ใช้ฟิลม์ Double-8 film ซึ่งต้องบอกก่อนว่าผมหาข้อมูลได้น้อยมากเกี่ยวกับกล้องนี้ แต่ก็ยังได้เวอร์ชั่นภาษาเยอรมันมา และผมเองอ่านไม่ออกเลยแต่เอามาให้ชมกันครับ




ในส่วนของเลนส์ที่มากับกล้องนี้ ที่ผมได้มาเรียกมันว่าเป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ Carl Zeiss Jena D-Mount ผลิตออกมาในช่วงปี 1958 มีสี่ตัวดังต่อไปนี้


เรียงจาก ซ้ายไปขวา
1.Carl Zeiss Jena Sonnar 40mm F2.8
2.Carl Zeiss Jena Biotar 25mm F2
3.Carl Zeiss Jena Biotar 12.5mm F2




4.Carl Zeiss Jena Flextogon 55mm F2 [หายากมากๆ]




ซึ่งเลนส์แต่ละตัวนั้นหายากมากๆ เป็นเลนส์ D-mount ซึ่งไม่มี Adaptor ผมได้ขอให้ น้าหนุ่ม กระโทก เป็นผู้จัดการโมท้ายให้ใช้งานได้ น้าหนุ่มบอกว่า เลนส์ตัวนี้สามารถใช้ได้กับเซนเซอร์ของ Pentax Q เท่านั้นถึงจะไม่ติดขอบดำ ไปไม่ถึง M43 ใช้ได้แต่ติดขอบดำ APSC Fullframe ใช้ไม่ได้แน่นอน แต่ด้วยความอยากลองจึงขอให้น้าหนุ่มจัดการตามเห็นสมควร ซึ่งน้าท่านได้แปลงเป็นท้าย M39 ให้ ต้องขอขอบพระคุณน้าหนุ่ม กระโทก มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

หากคุณกำลังสนใจจะโมเลนส์ขอให้นำภาพนี้ไปพิจารณาก่อนตัดสินใจนะครับ ไม่งั้นอาจจะได้ที่ทับกระดาษเพิ่ม คำตอบที่คุณสงสัยว่าจะติดขอบติดดำหรือไม่ อยู่ในภาพนี้



ด้านหน้าของเลนส์มีเขียนว่า Carl Zeiss Biotar




ระยะ Close Focus อยู่ที่ 0.35 เมตร [m] หรือ 1.2 ฟุต [ft] ซึ่งใกล้มากชนิดว่าเลนส์ Digital ของ M43 เองยังมองค้อน [ลองถอดออกจาก Adaptor ให้เห็นเกลียว ซึ่งขอบหลังจากการโมนั้นกินสูงจนบังตัวเลขที่ใช้บอกค่ารูรับแสง ปรับหมุนได้แต่ไม่เห็นตัวเลขไกด์เท่านั้น]





ท้ายเดิมเล็กกระจ้อย





เมื่อประกบบน Body M43 แล้วก็ดูน่ารักจุ๋มจิ๋ม ยกถ่ายได้ไม่เป็นจุดสนใจมากนัก



ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้ครับ อย่างที่แจ้งไว้ว่า เลนส์ตัวนี้องศารับภาพใช้ได้สบายบน Pentax Q แต่ติดขอบดำบน M43 หากต้องถ่ายแนะนำให้ลองใช้อัตราส่วนภาพเป็น 3:2 , 1:1 , 16:9 จะได้ภาพที่มีขอบดำน้อยกว่าการตั้งเป็นอัตราส่วน 4:3  แต่จากภาพตัวอย่างก็มีหลายอัตราส่วน และมี 4:3 ด้วยเช่นกันครับ ภาพไมได้ตกแต่งใดๆเพียงแค่ย่อและใส่ลายน้ำเท่านั้น
*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 , OMD EM5 Panasonic และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m43 *














B&W




4 ม.ค. 2564

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #10 Exaktar 55mm 1.4 M42 นามว่า Exaktar แต่ที่มานิรนาม

 สวัสดีครับ เลนส์เก่า เล่าใหม่ #10 ครั้งนี้ผมจะมาเล่าถึงเลนส์ฺตัวนึงนะครับ ซึ่งสัญชาติเดิมนั้นคือเลนส์เยอรมัน แต่ก็มีช่วงนึงที่ถูกผลิตในญี่ปุ่น นั่นก็คือเลนส์ Exaktar 55mm 1.4 M42 ซึ่งผมกำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ครับ จุดประสงค์ในการเขียนกระทู้เหล่านี้ยังคงเป็นเช่นเดิมครับ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนรุ่นต่อ หรือคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้จะได้ไม่เสียเวลาเหมือนผม ก่อนที่จะเข้าเรื่องเลนส์ ตามธรรมเนียมผมจะขอเล่าเรื่องของประวัติแบรน Exakta ให้ฟังสักนิดหน่อยพอมีที่มาที่ไปนะครับ ว่าแล้วกันมาเริ่มกันเลยครับ


*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*


ก่อนจะเล่าถึง Exakta ต้องขอเล่าท้าวความจากที่มาของชื่อนี้ก่อนนะครับ



Johan Steenbergen
(Industrieel & diplomaat)
Meppel 1886 - Osnabr?ck 1967




Johan Steenbergen ชาวดัช เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทกล้อง Industrie- und Handelsgesellschaft (Industry and Trade Society) ขึ้นที่เมือง Dresden ณ เยอรมันตะวันตก ในปี 1912 ชื่อย่อสั้นๆคือ Ihagee อ่านว่า อิฮะกิ (based on the German pronunciation of the acronym IHG, ee-hah-geh)ซึ่งโรงงาน Ihagee นี้มีชื่อเสียงจากการทำกล้อง Exakta หลากหลายรุ่นเลยทีเดียว



ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงาน Ihagee ได้รับผลกระทบจากสงคราม จากการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตร  Johan Steenbergen จึงอพยพหนีภัยจากสงครามและทิ้งโรงงานนี้ไปในปี 1942 การแบ่งโซนพื้นที่ต่างๆในเยอรมันหลังจากสงครามสงบนั้นค่อนข้างสเปะสปะในช่วงแรกๆ ณ เวลานั้น โรงงาน Ihagee ได้ถูกครอบครองโดย โซเวียดหรือ Russia เวลานั้นรัฐเซียเองก็พยายามที่จะบูรณะโรงงาน Ihagee ขึ้นมาใหม่ โดยการใช้วัตถุดิบที่รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดจากสงคราม แต่แล้วในที่สุดก็ถูกกวาดไปรวมกับกลุ่ม Pentacon และนำองค์ความรู้ผลิตกล้องออกมาในนาม Praktica ในปี 1951 และชื่อของ Ihagee ก็ค่อยๆเลือนหายไป กล้องรุ่นสุดท้ายที่ Ihagee ทำคือ Exakta RTL1000




Exakta RTL1000

Johan Steenbergen กลับมายังเยอรมันใน ปี 1959 และก่อตั้งบริษัท Ihagee West ณ เยอรมันตะวันออกโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Frankfurt ในปี 1966 บริษัททำการตลาดกล้องของ Exakta นัยยะว่าเป็น Exakta ของแท้ต้นฉบับและดั้งเดิมนั้น กลับไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนัก
ในปี 1967 Johan Steenbergen ได้เสียชีวิตลง ในปีเดียวกันนี้เองบริษัท Ihagee West ได้ขายสิทธิบัตรกล้อง Exakta TwinTL ซึ่งกล้องรุ่นนี้ถูกผลิตโดย Cosina [ค่ายกล้องอิสระจากญี่ปุ่น] และบริษัท Ihagee West ก็ปิดตัวลง







13 ต.ค. 2563

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #9 FED Industar10 50mm 3.5 Soviet Elmar Leica คนจน V2

 

สวัสดีครับ ช่วงนี้มักจะว่างตอนช่วงเวลาแบบนี้ จึงใช้โอกาสนี้ให้คุ้มค่าเปรียบเหมือนกันใช้พลังงานในถัง E ให้หมดก่อนนอน เลนส์เก่า เล่าใหม่ #9 เขียนไปเขียนมาก็มาถึงครั้งที่ 9 แล้ว หวังว่าข้อมูลเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่พยายามค้นหาไม่มากก็น้อย นะครับ ต้องขอขอบพระคุณคนที่ตามอ่านอยู่นะครับ ขอบคุณจากใจจริงครับ


  ครั้งนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์  FED Industar10 50mm 3.5 ซึ่งต้องขอบอกก่อนว่าผมไม่ได้เป็นคนแรกที่พูดถึงเลนส์ตัวนี้ ก่อนหน้านี้น้าคนธนฯเคยเขียนไว้นานมาแล้ว ส่วนที่ผมเขียนนั้นเป็นเพียงส่วนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น้าคนธนฯไม่ได้กล่าวถึง  เลนส์เก่า เล่าใหม่ #9 FED Industar10 50mm 3.5 Soviet Elmar Leica คนจน V2 ส่วน V2 ผมพยายามจะสื่อว่าเป็นภาคที่สองต่อขยายจากที่น้าคนธนฯได้เขียนเอาไว้  ขอขอบพระคุณน้าคนธนฯ  ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ


*ถ้าหากมีผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*

FED เป็นชื่อแบรนกล้องฟิลม์ Rengefider Camera ของ สหภาพโซเวียต [หรือ รัฐเซียในปัจจุบัน] ผลิตกล้องออกมาในช่วงปี 1934 จนถึง 1996
      
โดยชื่อนี้โดยย่อมาจาก Felix Edmundovich Dzerzhinsky ชื่อของรัฐบุรุษของ Soviet



โดยในช่วงแรกๆการผลิตกล้องของ FED คือการ Copy กล้อง Leica เรามาลองดูภาพกล้องของ FED ในรุ่นต่างๆกันครับ กล้องยิ่งออกก็ยิ่งมีการพัฒนาไปตามลำดับ [โดยเฉพาะ FED1 มีรุ่นยิบย่อยเยอะมาก ยิ่งผลิตก็ยิ่งพัฒนาไปเรื่อยๆครับ หากต้องการดูละเอียดแนะนำว่าให้อ่านจากใน Link อ้างอิงที่ผมจะแนบไว้ทื่ท้ายกระทู้นะครับ]

FED1


FED2




FED3




FED4



FED5


ส่วนข้อมูลข้างใต้ต่อไปนี้ผมนำมาเล่าอ้างจากกระทู้ของน้าคนธน ครับ ขอบคุณน้าคนธนล่วงหน้าครับผม
https://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2012/04/O11932056/O11932056.html

"ยุคสงครามโลกครั้งที่1 ตอนนั้นเยอรมันและโซเวียตได้ทำโครงการหนึ่งร่วมกันคือ  Weimar Republic and Bolshevist Russia  ทำการสร้างและวิจัยอุปกรณ์ทางทหารโดยเฉพาะกล้องที่สามารถถ่ายภาพตรวจการทางอากาศได้ จากนั้นเยอรมันได้ออกกล้อง Leica1,2 ออกมาเพื่อให้เป็นกล้องพกพาในการทหารเพื่อสอดแนมทางอากาศและสนามรบในช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง  แต่รัสเซียก็ได้แฮ็ปเอาแนวคิดมาเรียบร้อยแล้วโดยทำโครงการลับตัวหนึ่งคือ  VOOMP secret experimental โดยตั้งโรงงานที่เลนินกราดโดยก็อบปี้เอา Leica2 มาทั้งดุ้นมาผลิตเองเพื่อใช้เป็นกล้องทางการทหารในยุคก่อนสงครามโลกในปี 1932 หรือเมื่อแปดสิบปีที่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นระบบเลนส์ ระบบชัตเตอร์แม้แต่ตัวบอดี้ทุกกระเบียดนิ้วรัสเซียก็อบปี้ Leica1,2 ออกมาทั้งหมดและทำสำเร็จในอีกสองปีต่อมาเราลองมาดูภาพประกอบกันครับ  

Leica 1 VS FED1


Leica 2 VS FED 2

เจนเนเรชั่นสุดท้ายที่ลงเลนส์โค๊ทแล้วและปรับ F-stop  f4.5, f6.3.มาเป็น  f4, f5.6 ตามลำดับของ F สมัยใหม่" ภาพประกอบ F แบบเก่าและแบบใหม่เทียบกัน


ภาพเทียบกันระหว่างต้นฉบับ  ด้านซ้าย Leica Elmar 50mm 3.5 / ขวา Fed Industar 10 50mm 3.5


ตามตำนานที่น้าคนธนเขียนไว้ว่า " เลนส์ตัวนี้ให้เล่นตัวที่ผลิตเมื่อปี 1948-1949 เพราะมันคือเลนส์ 5 elements  Leitz Elmar ที่รัสเซียปล้นมาจากเยอรมันหลังสงครามโลกเอามาลงในตัวบอดี้ Industar 10 ทำได้เกือบสองปีก็เลิกเพราะเลนส์ที่ปล้นมาหมดแล้วจึงหันมาปล้นเอาเลนส์ 4 element Zeiss Tessar มาผลิตแทน
                            
ตามลำดับบน ซ้าย ขวา Industar 10 , 50 , 22

แต่ถ้าเป็นเลนส์รุ่นก่อนหน้านั้นมันยังไม่โค๊ทและรัสเซียผลิตเองคุณภาพผิดกันราวฟ้ากับเหว ดังนั้นใครบอกว่า Industar10 คือเลนส์ธรรมดาๆไม่ได้เด่นอะไรก็ใช่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ผมบอกไว้มันคือ Leica ตัวน้อยๆของคนจนโดยแท้"

ช่วง Serial ที่ว่าคือช่วงนี้ครับ ซึ่งผมคิดว่าขาเก๋าคงช้อนเก็บไปกันหมดตลาดแล้วล่ะครับ



กลับมาเข้าเรื่องในส่วนที่ผมต้องการจะเขียนในกระทู้นี้คือ เมื่อผมได้อ่านกระทู้ของน้าคนธนแล้วก็เกิดอาการอยากรู้อยากเห็นอยากลองว่า แล้วถ้าเลนส์ตัวธรรมดา ไม่ได้ใช่ช่วงที่เอาเลนส์ปล้นเขามา มาใส่ใน Industar ตัวนี้จะเป็นอย่างไร สุดท้ายก็ได้มาลองจนได้ครับ *ย้ำอีกครั้งว่านี่คือเลนส์ตัวธรรมดา ไม่ใช่ Serial ในตำนาน* เข้าเรื่องเลยนะครับ

รูปแบบ Optical Design

มาดูหน้าตาของเลนส์กัน เป็นเลนส์ที่ออกแบบมาให้ใช้กับกล้องฟิลม์ Rangefinder [ช่องมองภาพอยู่ข้างๆ และไม่มีกระจกสะท้อนภาพ]



ปรับรูรับแสงที่ติ่งด้านหน้าเลนส์

เม้าท์ M39 ตามมาตราฐานของ Leica

ผมพยายามถ่ายให้เดือยที่ไว้ล็อคและคลายเวลายืดหดเลนส์

ใบเบลดรูรับแสงเปิดกว้างสุด
หรี่ลงมา


เลนส์นี้เรียกว่า collapse เพราะว่าสามารถยืดหดได้ ตามภาพครับ

หดแล้วหน้าตาเป็นแบบนี่

เป็นเลนส์ที่ดูหล่อมาก ประกบกับบอดี้สีเงินเรียกว่าสวยตั้งแต่ยังไม่ถ่ายเลยทีเดียว เลนส์มีระยะเข้าใกล้แบบอยู่ที่ 1.25 เมตร


มาลองดูโบเก้จากเลนส์นี้กันก่อนครับ เป็นเรื่องปกติของกล้องและเลนส์ RF หรือ Rangefinder ที่จะมีระยะ Close Focus อยู่ที่ 1.25 - 1.50 เมตรเป็นขั้นต่ำ ทำให้ต้องยืนห่างแบบมากพอสมควร ผมพยายามรีดโบเก้เท่าที่ทำได้ครับ


เลนส์ตัวนี้สู้แสงได้ไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าเป็นตัว Serial ในตำนานนั้นสามารถสู้แสงได้สบาย








ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้ครับ  
*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 , OMD EM5 Panasonic GX7 และ Fujifilm XE1 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3 และ APSC ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame  อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*




Close Focus ค่อนข้างห่างเลยใช้วิชามารจากคนรุ่นก่อน หมุนเลนส์ออกจาก Adaptor สัก 2-3เกลียว เอามือประคองไปถ่ายไป




ภาพข้างใต้นี้ถ่ายด้วย EM5



ภาพข้างใต้นี้ถ่ายด้วย XE1









ลองดูภาพบุคคลกันบ้าง



ถ่ายภาพขาวดำได้ดี เจอแสงดีก็ปกติทั่วๆไป แต่เมื่อแสงน้อยโทนภาพจะขรึ้มขึ้นมาทันที




ถ่ายไปเรื่อยล่ะครับ








ข้อดี
- เลนส์ตัวนี้ให้สีที่แปลก มีติดหางๆมาจากตัวตำนานของน้าคนธนฯ ให้สีแบบที่เลนส์รุ่นใหม่ๆหาเทียบได้ยาก
- ถ่ายภาพขาวดำได้ดี มีสองโทน แสงดีสีก็ปกติ เหมือนคนที่โกนหนวด แต่แสงน้อยจะดูเคร่งขรึ้ม เปรียบเหมือนคนที่ไว้หนวด อารมณ์แบบนั้น
- F แรกฟุ้งเบาๆ ยิ่งหรี่ F ยิ่งคม
- หล่อ ใส่บอดี้สีเงิน เท่ห์ยังกับกล้องฟิลม์

ข้อเสีย
-  ย้อนแสงแฟลรเละพอสมควร นึกถึงดวงอาทิตย์ของเด็กอนุบาล รัสมีรอบๆแบบนั้นแหละครับ ต้องขยับหลบมุมแสงดีๆ
- ระยะเข้าใกล้แบบ 1.25 เมตรถือว่าค่อนข้างห่าง อาจจะไม่คุ้นชินกับคนที่ไม่เคยเลนส์ m39 มาก่อน

สรุป เลนส์เป็นเลนส์ที่ให้สีแปลกดี หากเทียบกับตัวตำนาน มีข้อด้อยชัดเจนเรื่องการสู้แสง และแฟลรที่เละกว่า ส่วนสีนั้นให้สวยน้องๆตัวตำนานเลยทีเดียว มีราคาไม่แรงตัวเล็ก หากใครสนใจเลนส์ที่ให้โบเก้สวยๆให้มองข้ามตัวนี้ไปก่อนเลย อย่างที่ทราบกันว่า เลนส์ตัวนี้ผลิตเพื่อให้ใช้ในการทหาร ฉะนั้นจะเน้นความชัดเจนมากกว่าการโบเก้ แต่ก็เป็นเลนส์ที่แปลกและมีเสน่ห์แบบรัฐเซียอีกตัวนึงที่น่าลองหวังว่าข้อมูลส่วนนี้คงจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้อยู่ ขอบคุณมากครับที่อ่านกันมาจนถึงตรงนี้ ลากันเท่านี้ สวัสดีครับ

ภาพที่ไม่ผ่านการย่อสามารถดูได้ที่นี่ครับ
https://www.flickr.com/photos/136282041@N06/albums/72157690571151225