15 มี.ค. 2564

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #11 Carl Zeiss Biotar 25mm F2 เลนส์ดีที่หายาก [เลนส์โม]

    


         สวัสดีครับ เลนส์เก่า เล่าใหม่ #11 ครั้งนี้ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับเลนส์สัญชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นเลนส์ของกล้องถ่ายภาพยนต์ในยุคฟิลม์ 8mm นั่นก็คือเลนส์ Carl Zeiss Biotar 25mm F2 ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยเขียนเรื่องของประวัติแบรน Carl Zeiss และ Veb Pentaconไปแล้ว จึงขอเล่าเฉพาะประวัติกล้องและเลนส์ตัวนี้แบบคร่าวๆพอเป็นมีที่มาที่ไป จุดประสงค์ในการเขียนกระทู้นี้ยังคงเป็นเช่นเดิม เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนรุ่นต่อไปหรือคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้จะได้ไม่เสียเวลาเหมือนผม ว่าแล้วเราก็มาเริ่มกันเลยครับ





*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*

เลนส์ที่ผมจะนำมาเล่านี้ มากับกล้อง Zeiss Ikon VEB : Pentaka 8B Cincamera ผลิตออกมาในช่วงปี 1958 ใช้ฟิลม์ Double-8 film ซึ่งต้องบอกก่อนว่าผมหาข้อมูลได้น้อยมากเกี่ยวกับกล้องนี้ แต่ก็ยังได้เวอร์ชั่นภาษาเยอรมันมา และผมเองอ่านไม่ออกเลยแต่เอามาให้ชมกันครับ




ในส่วนของเลนส์ที่มากับกล้องนี้ ที่ผมได้มาเรียกมันว่าเป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ Carl Zeiss Jena D-Mount ผลิตออกมาในช่วงปี 1958 มีสี่ตัวดังต่อไปนี้


เรียงจาก ซ้ายไปขวา
1.Carl Zeiss Jena Sonnar 40mm F2.8
2.Carl Zeiss Jena Biotar 25mm F2
3.Carl Zeiss Jena Biotar 12.5mm F2




4.Carl Zeiss Jena Flextogon 55mm F2 [หายากมากๆ]




ซึ่งเลนส์แต่ละตัวนั้นหายากมากๆ เป็นเลนส์ D-mount ซึ่งไม่มี Adaptor ผมได้ขอให้ น้าหนุ่ม กระโทก เป็นผู้จัดการโมท้ายให้ใช้งานได้ น้าหนุ่มบอกว่า เลนส์ตัวนี้สามารถใช้ได้กับเซนเซอร์ของ Pentax Q เท่านั้นถึงจะไม่ติดขอบดำ ไปไม่ถึง M43 ใช้ได้แต่ติดขอบดำ APSC Fullframe ใช้ไม่ได้แน่นอน แต่ด้วยความอยากลองจึงขอให้น้าหนุ่มจัดการตามเห็นสมควร ซึ่งน้าท่านได้แปลงเป็นท้าย M39 ให้ ต้องขอขอบพระคุณน้าหนุ่ม กระโทก มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

หากคุณกำลังสนใจจะโมเลนส์ขอให้นำภาพนี้ไปพิจารณาก่อนตัดสินใจนะครับ ไม่งั้นอาจจะได้ที่ทับกระดาษเพิ่ม คำตอบที่คุณสงสัยว่าจะติดขอบติดดำหรือไม่ อยู่ในภาพนี้



ด้านหน้าของเลนส์มีเขียนว่า Carl Zeiss Biotar




ระยะ Close Focus อยู่ที่ 0.35 เมตร [m] หรือ 1.2 ฟุต [ft] ซึ่งใกล้มากชนิดว่าเลนส์ Digital ของ M43 เองยังมองค้อน [ลองถอดออกจาก Adaptor ให้เห็นเกลียว ซึ่งขอบหลังจากการโมนั้นกินสูงจนบังตัวเลขที่ใช้บอกค่ารูรับแสง ปรับหมุนได้แต่ไม่เห็นตัวเลขไกด์เท่านั้น]





ท้ายเดิมเล็กกระจ้อย





เมื่อประกบบน Body M43 แล้วก็ดูน่ารักจุ๋มจิ๋ม ยกถ่ายได้ไม่เป็นจุดสนใจมากนัก



ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้ครับ อย่างที่แจ้งไว้ว่า เลนส์ตัวนี้องศารับภาพใช้ได้สบายบน Pentax Q แต่ติดขอบดำบน M43 หากต้องถ่ายแนะนำให้ลองใช้อัตราส่วนภาพเป็น 3:2 , 1:1 , 16:9 จะได้ภาพที่มีขอบดำน้อยกว่าการตั้งเป็นอัตราส่วน 4:3  แต่จากภาพตัวอย่างก็มีหลายอัตราส่วน และมี 4:3 ด้วยเช่นกันครับ ภาพไมได้ตกแต่งใดๆเพียงแค่ย่อและใส่ลายน้ำเท่านั้น
*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 , OMD EM5 Panasonic และ Panasonic GX7 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m43 *














B&W




4 ม.ค. 2564

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #10 Exaktar 55mm 1.4 M42 นามว่า Exaktar แต่ที่มานิรนาม

 สวัสดีครับ เลนส์เก่า เล่าใหม่ #10 ครั้งนี้ผมจะมาเล่าถึงเลนส์ฺตัวนึงนะครับ ซึ่งสัญชาติเดิมนั้นคือเลนส์เยอรมัน แต่ก็มีช่วงนึงที่ถูกผลิตในญี่ปุ่น นั่นก็คือเลนส์ Exaktar 55mm 1.4 M42 ซึ่งผมกำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ครับ จุดประสงค์ในการเขียนกระทู้เหล่านี้ยังคงเป็นเช่นเดิมครับ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนรุ่นต่อ หรือคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้จะได้ไม่เสียเวลาเหมือนผม ก่อนที่จะเข้าเรื่องเลนส์ ตามธรรมเนียมผมจะขอเล่าเรื่องของประวัติแบรน Exakta ให้ฟังสักนิดหน่อยพอมีที่มาที่ไปนะครับ ว่าแล้วกันมาเริ่มกันเลยครับ


*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*


ก่อนจะเล่าถึง Exakta ต้องขอเล่าท้าวความจากที่มาของชื่อนี้ก่อนนะครับ



Johan Steenbergen
(Industrieel & diplomaat)
Meppel 1886 - Osnabr?ck 1967




Johan Steenbergen ชาวดัช เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทกล้อง Industrie- und Handelsgesellschaft (Industry and Trade Society) ขึ้นที่เมือง Dresden ณ เยอรมันตะวันตก ในปี 1912 ชื่อย่อสั้นๆคือ Ihagee อ่านว่า อิฮะกิ (based on the German pronunciation of the acronym IHG, ee-hah-geh)ซึ่งโรงงาน Ihagee นี้มีชื่อเสียงจากการทำกล้อง Exakta หลากหลายรุ่นเลยทีเดียว



ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงาน Ihagee ได้รับผลกระทบจากสงคราม จากการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตร  Johan Steenbergen จึงอพยพหนีภัยจากสงครามและทิ้งโรงงานนี้ไปในปี 1942 การแบ่งโซนพื้นที่ต่างๆในเยอรมันหลังจากสงครามสงบนั้นค่อนข้างสเปะสปะในช่วงแรกๆ ณ เวลานั้น โรงงาน Ihagee ได้ถูกครอบครองโดย โซเวียดหรือ Russia เวลานั้นรัฐเซียเองก็พยายามที่จะบูรณะโรงงาน Ihagee ขึ้นมาใหม่ โดยการใช้วัตถุดิบที่รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดจากสงคราม แต่แล้วในที่สุดก็ถูกกวาดไปรวมกับกลุ่ม Pentacon และนำองค์ความรู้ผลิตกล้องออกมาในนาม Praktica ในปี 1951 และชื่อของ Ihagee ก็ค่อยๆเลือนหายไป กล้องรุ่นสุดท้ายที่ Ihagee ทำคือ Exakta RTL1000




Exakta RTL1000

Johan Steenbergen กลับมายังเยอรมันใน ปี 1959 และก่อตั้งบริษัท Ihagee West ณ เยอรมันตะวันออกโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Frankfurt ในปี 1966 บริษัททำการตลาดกล้องของ Exakta นัยยะว่าเป็น Exakta ของแท้ต้นฉบับและดั้งเดิมนั้น กลับไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนัก
ในปี 1967 Johan Steenbergen ได้เสียชีวิตลง ในปีเดียวกันนี้เองบริษัท Ihagee West ได้ขายสิทธิบัตรกล้อง Exakta TwinTL ซึ่งกล้องรุ่นนี้ถูกผลิตโดย Cosina [ค่ายกล้องอิสระจากญี่ปุ่น] และบริษัท Ihagee West ก็ปิดตัวลง