1 ก.ย. 2563

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #3 Carl Zeiss Jena Pancolar 50mm 1.8 M42 Zebra

 สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงเลนส์มือหมุน เป็นแบรนเยอรมันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงกับ Leica ราคาในจับต้องได้ [ในบางรุ่น] นั่นก็คือ Carl Zeiss เป็นแบรนที่มีประวัติมายาวนานกว่า 100 ปีเลยทีเดียวครับ Carl Zeiss เติบโตจากการทำกล้องจุลทรรศน์และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ครับ แล้วก็พัฒนาเรื่อยมาจนผิตชิ้นเลนส์ที่มีคุณภาพสูงมากๆครับ ชื่อ "Jena" เป็นชื่อเมืองที่มีโรงงานผลิต ในเยอรมันตะวันออกครับ ข้อมูลส่วนประวัติศาสตร์เกิดจากการรวบรวมข้อมูลของผมเอง หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เรามาลองดูประวัติคร่าวๆกันครับ

คุณคาร์ล ไซส์ (Carl Zeiss) แกเป็นช่างฝนเลนส์ชาวเยอรมันช่างฝนเลนส์ผมพิมพ์ไม่ผิดหรอกเดิมทีการผลิตชิ้นเลนส์ในยุคแรกๆของอุสหกรรมการผลิตเลนส์ในเยอรมันนั้นใช้วิธีการหลอมชิ้นแก้วแล้วนำชิ่นแก้วที่ได้มานั่งฝนนั้งขัดกันทีละชิ้นด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ได้ขนาดความโค้งเว้านูนตามทฤษฏีทางฟิสิกส์ของนักออกแบบชิ้นเลนส์ในสมัยนั้น


คุณคาร์ล ไซส์ (Carl Zeiss) เกิดที่เมืองไวมาร์เยอรมันนี ศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และวิชาเกี่ยวกับการมองเห็น (Optics)ที่มหาวิทยาลัยเจนา (Jena University) จากนั้นก็เริ่มเปิดกิจการเล็กๆเป็นของตนเองคือร้านรับจ้างฝนเลนส์ ผลิตเลนส์สำหรับแว่นสายตาและกล้องจุลทรรศน์


ในปี 1846 เขาได้พบกับ เอิร์นต์แอ็บเบ้ (Ernst Abbe) นักฟิสิกส์และเคมี*(ผู้ให้กำเนิดทฤษฏีทางฟิสิกส์ที่เป็นต้นแบบในการผลิตชิ้นเลนส์ในเวลาต่อมา) และได้ก่อตั้งบริษัท Zeiss ในการผลิตชิ้นเลนส์สำหรับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ในการแพทย์ร่วมกันผลงงานของพวกเขาได้รับการยอมรับและนิยมอย่างมากทั้งในการแพทย์และการทหารในสมัยนั้น


หลังจากนั้นเขาก็เข้าสู่ธุรกิจการผลิตเลนส์สำหรับถ่ายภาพยนต์และเลนส์สำหรับถ่ายภาพ ซึ่งก็ได้รับความนิยมในด้านของคุณภาพอย่างมากมายเช่นกัน


คาร์ล ไซส์ (Carl Zeiss) เกิดเมื่อวันที่11กันยายน ค.ศ 1816 และเสียชีวิตเมื่อวันที่3 ธันวาคม ค.ศ 1888...


หลังจาก คาร์ล ไซส์เสียชีวิตลูกชายของเขาก็เข้ามาบริหารกิจการต่อต่อ หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2เมืองเจนาถูกกองทัพพันธมิตรยึดครอง(ไม่ใช่เสื้อเหลืองแต่เป็นอเมริกา)เยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือเยอรมันตะวันตกกับเยอรมันตะวันออกโรงงานของไซส์ก็ถูกแบ่งออกเป็นสองแห่งเช่นกันคือในฝั่งเยอรมันตะวันออกถูกฝ่ายรัสเซียเข้ายึดครองและเปลี่ยนชื่อเป็น "ไซส์เจนา" (Zeiss Jena) ผลิตกล้องถ่ายภาพขนาด 35 มม.


ส่วนลูกชายและผู้สืบทอดในรุ่นต่อๆมาก็อพยพหนีระบบสังคมนิยมคอมมิวนิตส์มาตั้งโรงงานใหม่ในฝั่งเยอรมันตะวันตกและตั้งชื่อโรงงานใหม่ว่า "CarlZeiss AG” ผลิตเลนส์ที่มีคุณภาพชั้นดีตรงตามที่ คาร์ล ไซส์ (CarlZeiss)เคยตั้งปณิทานเอาไว้ก่อนเสียชีวิตดังนั้นเราจึงมักเห็นได้ว่า เลนส์จากคาร์ล ไซส์ (Carl Zeiss)ที่สกรีนใต้กระบอกเลนส์ทุกตัวว่า Made In West Germany จะมีราคาสูงมาก เพราะมันคือต้นแบบจากจิตวิญญานของคุณคาร์ล ไซส์ (CarlZeiss)จากรุ่นสู่รุ่น.....มันคือของแท้และดั่งเดิม


ในปี ค.ศ.1946 (เกล็ดเล็กเกร็ดน้อยนะ ในปีนี้เป็นปีที่ จอร์จ วอล์กเกอร์ บุช (George Walker Bush) หรือGeorgeW. Bush เพิ่งเกิด) บ.จากญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า Kyocera ซึ่งเป็นผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพภายใต้ยี่ห้อ Yashica ได้ติดต่อทางการค้ากับ Carl Zeiss AG ให้ช่วยออกแบบและควบคุมคุณภาพการผลิตเลนส์ให้โดยมีฐานการผลิตอยู่ในญี่ปุ่นเพื่อเป็นการลดค้าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงจึงได้มีการทำข้อตกลงกันให้ผลิตเลนส์ที่มีชื่อแบรนด์ของ Carl Zeiss ในญี่ปุ่นได้ (จึงมีเลนส์ Carl Zeiss รุ่นต่างๆที่สกรีน Made in Japan ในราคาที่ถูกลงจากเดิมในเวลาต่อมา)...


หลายท่านที่ได้เห็นผลิตภัณฑ์และตราสินค้า Zeiss มักจะเกิดคำถามว่า “ใช่บริษัทเดียวกับ Carl Zeiss หรือไม่” หรือ “เคยเห็นแต่ตราสินค้า Carl Zeiss Jena” หรือ “บริษัทเดียวกับกล้อง Zeiss Ikon หรือเปล่า” หรือ “Carl Zeiss Jena เป็นของเยอรมันตะวันออก และ Zeiss เป็นเยอรมันตะวันตก”ฯลฯ

ยอดบริษัทด้านนวตกรรมในเรื่อง Optics และFine Mechanic เยอรมันบริษัทนี้มีอายุนานถึง 160 กว่าปีแล้วและผ่านยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและความวุ่นวายของประเทศมาอย่างมั่นคง และยังคงความเป็นยอดนวตกรรมมาจนถึงทุกวันนี้ เรามาลองดูกันว่าแต่ละชื่อในแต่ละยุค มันแตกต่างกันอย่างไร

Carl Zeiss Jena
บริษัท CarlZeiss ก่อตั้งโดย นาย Carl Zeiss ในปี ค.ศ. 1846 โดยผลิตกล้องจุลรรศน์จำหน่าย (นับเป็นบริษัทแรกของโลกที่ผลิตกล้องจุลทรรศน์ในเชิงอุตสาหกรรม) ณ.เมือง Jenaโดยเครื่องหมายการค้า Carl Zeiss Jena นี้ปรากฎบนผลิตภัณฑ์ของZeiss ในช่วงปี ค.ศ.190x และใช้เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ.1945

Schott & Genossen(Schott andAssociates)
ถ้าจะกล่าวถึงตราสินค้า Schott แล้วนักเคมีหรือผู้ที่ใช้แก้วทนไฟจะรู้จักเป็นอย่างดี ถึงผลิตภัณฑ์แก้วทนไฟคุณภาพแม้ในปัจจุบันบริษัทผลิตตะเกียงเจ้าพายุทั่วโลกยังใช้กระจกของ Schott

Otto Schott ผู้ชำนาญด้านการผลิตแก้วได้ร่วมหุ้นกับ Carl Zeiss และ Ernst Abbe (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Zeiss และเป็นผู้บริหารสูงสุดในยุคถัดมา)เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เลนส์แก้วสำหรับกล้องจุลทรรศน์และผลิตภัณฑ์ด้าน Opticประเภทต่างๆ และได้กลายเป็นบริษัทผลิตแก้วและผลิตภัณฑ์ Optical Products ชั้นนำของโลก


Zeiss Ikon
คงไม่มีนักสะสมกล้องเก่าท่านใดไม่รู้จักบริษัทนี้ Zeiss Ikon ได้นำวัฒนธรรมด้านผู้นำนวตกรรมมาสู่อุตสาหกรรมกล้องถ่ายรูปเช่นกล้องพับขนาดพกพาและอื่นๆ
ในปีค.ศ.1826ในยุคที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์ถ่ายภาพในประเทศเยอรมันนีได้ตกอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเงินบริษัท Carl Zeiss Jena ได้เข้าไปร่วมทุนกับบริษัทกล้อง Ica,Contessa Nettel และอีกหลายบริษัทเพื่อจัดตั้งบริษัท ZeissIkon ขึ้นและได้กลายเป็นบริษัทลูกของ Zeiss ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่ง

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2 บริษัท Zeiss Ikon ได้ถูกแบ่งออกเป็น2 บริษัทได้แก่ Zeiss Ikon West และ East โดยบริษัท Zeiss Ikon West ได้ปิดตัวลงในปี 1970 เพราะปัญหาต้นทุนที่สูงในประเทศเยอรมันตะวันตก และ Zeiss Ikon East ได้ถูกซื้อไปรวมกับบริษัทผลิตกล้องอื่นจนตราสินค้าหายไป

Carl Zeiss and Carl Zeiss Jena
หลังการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1945 กองทัพสหรัฐฯได้ขนนักวิทยาศาสตร์และผู้บริหารของบริษัท Carl Zeiss จากเมือง Jena ซึ่งอยู่ในเขตเยอรมันตะวันออกไปยังเมือง Heidenheim ในเขตเยอรมันตะวันตกและได้นำความรู้ที่สะสมมา 100 ปีเปิดสายการผลิตผลิตภัณฑ์กล้องจุลทรรศน์กล้องส่องทางไกล และหอดูดาว เลนส์ และอุปกรณ์การแพทย์

ในส่วนของเครื่องจักร, โรงงาน Carl Zeissและคนงานในเมือง Jena นั้นกองทัพรัสเซียได้ทำการย้ายเครื่องจักรเดิมทั้งหมดไปยังรัสเซียและได้จัดสร้างสายการผลิตใหม่ขึ้นในปี ค.ศ. 1947/8เพื่อผลิตสินค้ากล้องจุลทรรศน์ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เลนส์ให้แก่กลุ่มประเทศสังคมนิยม

การแข่งขันระหว่างบริษัท Carl Zeiss และ CarlZeiss Jena ได้รุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ตามกระแสความรุนแรงของสมครามเย็นระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตกโดยบริษัททั้ง 2 ได้อ้างสิทธิ์ต่อลิขสิทธิ์ผลิตภัณฑ์เครื่องหมายการค้า และสิทธิ์ในการใช้ “Carl Zeiss” และศาลสูงสหรัฐได้ตัดสินให้บริษัทCarl Zeiss เยอรมันตะวันตกได้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้าCarl Zeiss หรือ Zeiss เพียงผู้เดียวและทำให้ผลิตภัณฑ์จากโรงงานในเมือง Jena ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “aus JENA” หรือ “JENOPTIK”หรือ “JENOPIK JENA” ไป
ภายหลังอาณาจักรสังคมนิยมสหภาพโซเวียตล่มสลายลงอันเป็นการสิ้นสุดยุคสมครามเย็น และกำแพงกรุงเบอร์ลินได้ถูกทุบทิ้งไปใน ปี ค.ศ.1991 บริษัท CarlZeiss ตะวันตกและตะวันออกได้กลับมารวมกันกลายเป็นบริษัท CarlZeiss อีกครั้ง และได้เปลี่ยนตราสินค้าเป็น “Zeiss” ดังที่ปรากฎในสินค้าคุณภาพด้านต่างๆในปัจจุบัน

หากจะให้นิยามสั้นๆแก่บริษัท Carl Zeiss คงไม่มีคำไหนเหมาะกว่าคำว่า“Optical Innovation Company” บริษัทที่มีอายุ 160 กว่าปีแห่งนี้ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1846 ได้ผ่านความรุ่งโรจน์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และฝ่าฟันช่วงเวลาอันยากลำบากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยบริษัทได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน อยู่คนละฝั่งประเทศในขณะที่หลายต่อหลายบริษัทต้องปิดกิจการลง หรือถูกซื้อไป Carl Zeiss ก็ยังคงต่อสู้และสร้างความเป็นเลิศในนวตกรรมด้าน Optical (แก้วและเลนส์) มาโดยตลอดจนบริษัท Carl Zeiss ทั้งสองได้กลับมารวมกันอีกครั้งภายหล้งจากที่กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทิ้งลงในปี ค.ศ. 1991

อ่านประวัติกันมาพอสมควร เรามาเข้าเรื่องเลนส์กันครับ
Carl Zeiss Jena Pancolar 50mm f1.8 เป็นเม้าท์แบบ M42 จริงแล้วจะมี 2 รุ่น
รุ่นที่1 [เรากำลังจะพูดถึง]ม้าลายจะเป็นรุ่นแรก ไม่มีการโค้ดเลนส์ และเคลือบเลนส์ด้วยทอเรี่ยมออกไซด์ [สารกัมมตรังสี คนยุคฟิลม์จะชอบพูดแซวกันว่าใช้แล้วเป็นหมัน แต่ความจริงแล้ว สารที่แพร่ออกมาจากเลนส์มีน้อยนิดมาก จนบางคนบอกว่า นอนกอดเลนส์ทอเรี่ยมทุกวัน 10 ปี ยังไม่เท่าโดนแสงเอ็กสเรย์ครั้งเดียว]
รุ่นที่2 จะมีตัวหนังสือเขียนว่า MC และบอดี้ไม่ใช่ม้าลาย มีการเคลือบ Multicoat มาแล้ว

เหตุที่เรียกว่าม้าลายเพราะรอบๆบอดี้จะมีสีเงินสลับดำ ทั้งวงแหวนปรับรูรับแสงและวงแหวนโฟกัสเลยครับ เลนส์ตัวนี้มีการเคลือบ ทอเรี่ยม ไว้ที่ชิ้นเลนส์ด้วยครับ [เป็นสารกัมมันตรังสี ขอแนะนำเช่นเดิมครับว่า หลีกเลี่ยงกับการสัมผัสชิ้นเลนส์โดยตรงไม่ว่าจะด้านหน้าหรือด้านหลัง] โดยมากคนจะนิยมเก็บเลนส์ตัวนี้กันครับเนื่องจากว่า บอดี้ภายนอกก็สวยตั้งแต่ยังไม่เริ่มถ่ายแล้ว เลนส์เองก็ยังให้ Detail รายละเอียดในส่วนมืดและส่วนสว่างอย่างน่าตกใจด้วยครับ เรามาเริ่มกันเลยครับ




Poster เลนส์

ภาพตัวอย่าง ถ่ายด้วยกล้อง OMD EM1




















ถ่ายขาวดำสวยดี













คร๊อบ 100 ขุดได้เอาเรื่องเลย









ย้อนแสงมีแฟลรพอสมควร





ขาวดำสวยงาม



คลิบบ่นๆ


สรุป เลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์ที่ดีมากๆตัวนึงครับ มีเอกลักษณ์คือคอนทราสจัดสีเข้ม ตามสไตล์เยอรมัน แต่เจ้าตัวนี้ที่โดดเด่นเป็นพิเศษคือการดึงเก็บดีเทลในส่วนมืด จนน่าตกใจในหลายภาพตัวอย่างข้างบนครับ โดยส่วนตัวผมว่าเก็บดีเทลส่วนมืดได้ดีกว่า เลนส์ดิจิตอลของ Olympus ที่ผมมีอยู่ซะด้วยครับ!! ข้อเสียที่ควรต้องระวังแต่ไม่มากจนระแวงคือ วงแหวนโฟกัสจะหนืดครับ เลนส์ Carl Ziess เก่าๆโดยมากวงแหวนนี้จะชอบหนืดครับ เลนส์ตัวนี้มีค่าตัวจัดอยู่ในระดับกลางๆครับ อยู่ในเกรดที่เหนือกว่าเลนส์ญี่ปุ่นทั่วๆไปก็ว่าได้ จริงๆแล้วตระกูล Pancolar จะมีอีกสองระยะและเริ่มหายาก นั่นก็คือ 50mm 1.4 เม้าท์ Praktica กับ 55mm 1.4 m42  ตัว 50 1.4 ดูภาพจาก คห.ที่2 ได้เลยครับ ส่วน 55 1.4 หายากมากๆราคาโดดไปไกลกว่า 50 1.8 มากเลยทีเดียว

หวังว่าข้อมุลส่วนนี้ คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับคนที่ต้องการหาเลนส์ตัวนี้มาลองใช้ครับ ลากันไปเท่านี้ครับ สวัสดีครับ

ป.ล.ภาพตัวอย่างจากเลนส์ตัวนี้
*ผมถ่ายด้วยกล้อง Olympus OMD EM1 และ OMD EM5 ซึ่งเป็นเซนเซอร์ m4/3
ภาพจากเลนส์ตัวเดียวกันนี้หากถ่ายด้วยกล้องที่เซนเซอร์ต่างขนาดกันไปเช่น APSC หรือ FullFrame อาจจะได้ลักษณะโบเก้ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียวครับ เรียกว่าต่างเซนเซอร์โบเก้ไม่เหมือนกัน
แต่โทนของภาพจะเคียงกันครับ*

ขอเชิญแจมรูปภาพ หรือ ข้อมูล จากสมากชิกที่มีภาพจากเลนส์ตัวนี้หรือแบรนนี้ เชิญลงเสริมเพิ่มเติม ได้นะครับ
**หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ**

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น