4 ม.ค. 2564

เลนส์เก่า เล่าใหม่ #10 Exaktar 55mm 1.4 M42 นามว่า Exaktar แต่ที่มานิรนาม

 สวัสดีครับ เลนส์เก่า เล่าใหม่ #10 ครั้งนี้ผมจะมาเล่าถึงเลนส์ฺตัวนึงนะครับ ซึ่งสัญชาติเดิมนั้นคือเลนส์เยอรมัน แต่ก็มีช่วงนึงที่ถูกผลิตในญี่ปุ่น นั่นก็คือเลนส์ Exaktar 55mm 1.4 M42 ซึ่งผมกำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ครับ จุดประสงค์ในการเขียนกระทู้เหล่านี้ยังคงเป็นเช่นเดิมครับ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคนรุ่นต่อ หรือคนที่กำลังสนใจเลนส์ตัวนี้จะได้ไม่เสียเวลาเหมือนผม ก่อนที่จะเข้าเรื่องเลนส์ ตามธรรมเนียมผมจะขอเล่าเรื่องของประวัติแบรน Exakta ให้ฟังสักนิดหน่อยพอมีที่มาที่ไปนะครับ ว่าแล้วกันมาเริ่มกันเลยครับ


*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*


ก่อนจะเล่าถึง Exakta ต้องขอเล่าท้าวความจากที่มาของชื่อนี้ก่อนนะครับ



Johan Steenbergen
(Industrieel & diplomaat)
Meppel 1886 - Osnabr?ck 1967




Johan Steenbergen ชาวดัช เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทกล้อง Industrie- und Handelsgesellschaft (Industry and Trade Society) ขึ้นที่เมือง Dresden ณ เยอรมันตะวันตก ในปี 1912 ชื่อย่อสั้นๆคือ Ihagee อ่านว่า อิฮะกิ (based on the German pronunciation of the acronym IHG, ee-hah-geh)ซึ่งโรงงาน Ihagee นี้มีชื่อเสียงจากการทำกล้อง Exakta หลากหลายรุ่นเลยทีเดียว



ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงงาน Ihagee ได้รับผลกระทบจากสงคราม จากการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตร  Johan Steenbergen จึงอพยพหนีภัยจากสงครามและทิ้งโรงงานนี้ไปในปี 1942 การแบ่งโซนพื้นที่ต่างๆในเยอรมันหลังจากสงครามสงบนั้นค่อนข้างสเปะสปะในช่วงแรกๆ ณ เวลานั้น โรงงาน Ihagee ได้ถูกครอบครองโดย โซเวียดหรือ Russia เวลานั้นรัฐเซียเองก็พยายามที่จะบูรณะโรงงาน Ihagee ขึ้นมาใหม่ โดยการใช้วัตถุดิบที่รอดพ้นจากการทิ้งระเบิดจากสงคราม แต่แล้วในที่สุดก็ถูกกวาดไปรวมกับกลุ่ม Pentacon และนำองค์ความรู้ผลิตกล้องออกมาในนาม Praktica ในปี 1951 และชื่อของ Ihagee ก็ค่อยๆเลือนหายไป กล้องรุ่นสุดท้ายที่ Ihagee ทำคือ Exakta RTL1000




Exakta RTL1000

Johan Steenbergen กลับมายังเยอรมันใน ปี 1959 และก่อตั้งบริษัท Ihagee West ณ เยอรมันตะวันออกโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Frankfurt ในปี 1966 บริษัททำการตลาดกล้องของ Exakta นัยยะว่าเป็น Exakta ของแท้ต้นฉบับและดั้งเดิมนั้น กลับไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรนัก
ในปี 1967 Johan Steenbergen ได้เสียชีวิตลง ในปีเดียวกันนี้เองบริษัท Ihagee West ได้ขายสิทธิบัตรกล้อง Exakta TwinTL ซึ่งกล้องรุ่นนี้ถูกผลิตโดย Cosina [ค่ายกล้องอิสระจากญี่ปุ่น] และบริษัท Ihagee West ก็ปิดตัวลง










กลับมาเข้าเรื่อง Exaktar เป็นกล้องที่ถูกผลิตโดยโรงงาน Ihagee Kamerawerk เมือง Dresden ประเทศเยอรมัน ก่อตั้งในปี 1912 ผลิตกล้องถ่ายภาพและเลนส์ในเชิงพาณิชย์มากมาย รวมทั้งกล้องจุลทรรศน์ด้วย เนื่องจากว่ากล้องของ Exakta มีหลายรุ่นมาก และรายละเอียดบางส่วนเป็นภาษาเยอรมันผมจนปัญญาที่จะแปลมาให้ได้อ่านกัน จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะรุ่นที่มีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษสักนิดหน่อยครับ


                                                    Exaktar VP* ใช้ฟิลม์ 127 หรือ 46mm



กล้องฟิลม์ขนาด 35mm ตัวแรกของ Exaktar คือรุ่น Kine Exakta* ผลิตออกมาในช่วงปี (1936-1948) มีเลนส์มากมายที่ถูกผลิตใน Mount ของ Exakta Carl Zeiss,Schneider-Kreuznach,Isco-Gottingen Westrogon และอีกมากมาย และหยุดผลิตกล้องไปในปี 1970





เลนส์ Exaktar Mount M42 มีสองเวอร์ชั่น ซึ่งผมเองไม่สามารถระบุได้ว่าตัวไหนเป็นเวอร์ชั่นแรกกันแน่ [การที่ผมเรียกตามลำดับนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเล่า] ทั้งสองเวอร์ชั่นทำในญี่ปุ่นทั้งสิ้น มากับกล้อง Twin TL 42 M42 version มีหน้าตาไม่เหมือนกันอย่างชัดเจน ผลิตในปี 1960 - 1975 เป็นเลนส์ Single Coat และทั้งสองเวอร์ชั่นนอกจากหน้าตาจะไม่เหมือนกันแล้ว โทนภาพก็ไม่เหมือนกันซะด้วยมาลองดูหน้าแต่ละเวอร์ชั่นกันครับ

1.Version แรก ทำโดยบริษัท Cosina [ดูเฉพาะเลนส์นะครับกล้องไม่เกี่ยว] วงแหวนโฟกัสจะเป็นเส้นตรงๆทางยาว หาง่าย*



2. Version 2 ที่จะนำมาเล่าให้ฟัง ต้องสงสัยว่าทำโดยบริษัท Sankor สังเกตุสีฟ้อนแปลกๆและมีตัว E อยู่ท้าย Serial Number เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟังว่าจุดนี้น่าสงสัยอย่างไร

มาลองดูหน้ากันเต็มๆนะครับ ระยะ 55mm 1.4 ใช้ฝาปิดหน้าเลนส์ขนาด 55mm

ระยะเข้าใกล้แบบ เข้าใกล้ได้มากสุดที่ 0.5 ft [ฟุต] หริอ 1.75 m [เมตร]





ส่วนด้านท้ายของเลนส์ เลนส์จะยื่นออกมาเวลาเราเก็บเลนส์หดสั้นลักษณะคล้ายๆเลนส์ Mamiya 55mm 1.4


แนะนำให้เก็บแบบยาวจะสบายใจที่สุด


เก็บแบบยาวแบบนี้ปลอดภัยสุด

Sankor เป็นบริษัทในเครือของ Nissin Optical ซึ่งเมื่อระบบดิจิตอลเข้ามาสู่วงการกล้อง บริษัทนี้เลือนหายไปซะดื้อๆ ความสัมพันธ์ของบริษัท Sankor กับ Nissin Optical เหมือน Pentax กับ Asahi และ Nikon กับ Nippon Kogaku สิ่งที่น่าสงสัยและนักสมคบคิดหลายคนรวมทั้งผม พยายามจะเชื่อว่าเลนส์ตัวนี้ผลิตโดยบริษัทนี้เพราะว่าลองดูภาพต่อไปนี้นะครับ

สังเกตุว่าด้านหน้าของเลนส์ Sankor จะมีรหัสที่ลงท้ายตัว "E" เสมอ





จากหลักฐานที่ผมพยายามหา บอกได้เลยว่าไม่มีลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนว่าเลนส์ตัวนี้ผลิตโดยใครกันแน่ นอกจากที่มาจะนิรนามแล้ว รูปแบบ Optic Design ก็ยังไม่ชัดเจน หลายคนสงสัยว่าตูดเลนส์ยื่นๆนี่มันสไตล์โรงงาน Tomioka ของญี่ปุ่นแน่ๆเลย ซึ่งตอนแรกผมก็คิดเช่นนั้นครับ แต่หลังจากนั้นผมก็พยายามค้นหาอย่างสุดความสามารถก็พบว่า รูปแบบ Optic Design ของเลนส์ตัวนี้เป็นแบบนี้ครับ

ซึ่งเป็นรูปแบบที่อิงและปรับปรุงแก้ไขดัดแปลงมาจาก Carl Zeiss Contarex Planar 55mm 1.4

แถมหน้าตาเลนส์มีขนาดคล้ายๆกัน ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้นะครับ


อย่างที่ทราบกันว่าเลนส์ของ Carl Zeiss ผลิตด้วยชิ้นแก้วทนไฟของ Schott เรื่องคุณภาพไม่ต้องพูดถึง ส่วนเลนส์ Exaktar ตัวนี้ที่ถูกผลิตในญี่ปุ่นนั้น คงไม่อาจจะเทียบคุณภาพได้กับ Contarex ซึ่งเป็นที่สุดของ Carl Zeiss แต่มันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร แม้ว่าจะไม่ดีเท่าเลนส์ Carl Zeiss แต่ดีมากพอที่จะผ่านมาตราฐานของ Exakta ได้

แม้ว่าที่มาชัดเจนของบริษัทที่ผลิตมันขึ้นนั้นจะไม่มีเลย แต่เชื่อได้อย่างหนึ่งว่าเลนส์ที่ผลิตและส่งมอบให้กับ Exakta ซึ่งเป็นบริษัทเยอรมันนั้น ต้องผ่านการตรวจสอบมาตราฐานอย่างมากอยู่พอสมควร ฉะนั้นอย่าไปซีเรียสที่มา มาดูที่ไปกันดีกว่าครับ ^_^

มาลองดูใบเบลดรูรับแสงกันนะครับ เปิดกว้างสุดโบเก้กลม

เมื่อหรี่จะเป็นหกเหลี่ยมปลายมนๆ



หรี่สุด ที่  F16




มาลองดูโบเก้จากเลนส์ตัวนี้กันก่อนนะครับ เปิดสุดกลมๆ


หรี่มาเป็นหกเหลี่ยม


เลนส์ตัวนี้เป็นเลนส์ Single Coat เวลาย้อนจะเจอแฟลรมากพอสมควรแต่ก็ไม่น่าเกลียดเท่าไหร่ครับ



ภาพเหล่านี้ถ่ายด้วย SONY A7 สุดในฟอแมตอื่นลองดูในเว็บภาพ Flickr ของผมเอานะครับ มีลิ้งแนบท้ายๆ












คลิบบ่นๆ


ข้อดี
- เลนส์ให้สีหวาน แต่ไม่สีไม่จัด ไม่เข้ม อ่อนหวาน ถ่ายได้สีสมจริง
- ถ่ายภาพบุคคลได้ค่อนข้างดี ให้ Skintone สวยอ่อนหวาน แต่จะคนละสไตล์กับพวก Minolta Mamiya ตัวนี้หวานอ่อนช้อยกว่า
- คอนทราสไม่จัด ปกติแล้วเลนส์สัญชาติเยอรมันคอนทราสจะจัดมาก แต่ตัวนี้คอนทราสไม่จัด
- เก็บ Detail ส่วนมืดได้ดีมากๆ แม้กระทั่งในที่แสงน้อย

ข้อเสีย
- ตูดเลนส์ชอบยื่น แนะนำให้ระมัดระวังในการเก็บให้ดี ระวัง Adaptor จะไปขูดกับชิ้นเลนส์ด้านหลัง
- ที่มาของมันแสนจะนิรนาม หาความชัดเจนไม่ได้

สรุป เลนส์ Exaktar 55mm 1.4 M42 เป็นเลนส์สัญชาติเยอรมันแต่ผลิตในญี่ปุ่นโทน สีสันและคอนทราสจะไม่เข้มเหมือนเลนส์เยอรมัน ให้สีและ Skin Tone อ่อนหวานแบบสไตล์เลนส์ญี่ปุ่น แทบไม่เหลือเอกลักษณ์ของเลนส์เยอรมันให้เห็นเลยนอกจากชื่อเท่านั้น ให้โบเก้สองแบบ กลมและหกเหลี่ยมปลายมน การใช้งานต้องระมัดระวังเรื่องของการเก็บให้ดีเรื่องของตูดเลนส์ยื่นตามที่ได้บอกไว้ เป็นเลนส์ที่ดีอีกตัวนึงที่น่าใช้แม้จะหายากก็ตาม หากใครกำลังสนใจหรือกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเลนส์ Exaktar 55mm 1.4 M42 ก็ลองนำข้อมูลส่วนนี้ของผมไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจได้นะครับ ลากันไปเท่านี้ สวัสดีครับ

ภาพเต็มๆไม่ย่อสามารถดูได้ที่นี่ครับ

*ขอขอบคุณโกเผ่า ผู้ร่วมทดสอบเลนส์และให้คำปรึกษาที่ดีเสมอมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น